รู้จักหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมีปรัชญา “ผลิตและพัฒนาครูเก่งครูมีสมรรถนะรอบรู้เกื้อกูลสังคมดำรงตนอย่างมีความสุข” มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นฟื้นฟูพลังการเรียนรู้เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการเรียนรู้มีพันธกิจตามกฎหมายที่ระบุ ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น ทำหน้าที่จัดการศึกษาในสาขาการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma Program in Teaching Profession
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ประกาศนียบัตรบัณฑิต (วิชาชีพครู)
ชื่อย่อภาษาไทย : ป. บัณฑิต (วิชาชีพครู)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Graduate Diploma (Teaching Profession)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Grad.Dip. (Teaching Profession)
จุดเด่นของหลักสูตร
1.สร้างบัณฑิตให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูที่พร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเทคโนโลยีและการปฏิรูปการศึกษา
2.สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการการศึกษาโดยเรียนรู้ผ่าน Case Study
3.สร้างครูมืออาชีพด้วยมืออาชีพ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงกับผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
4.คณาจารย์พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อให้จบตามระยะเวลา
5.มีกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครู ศึกษาดูงาน ทั้งใน และต่างประเทศ
6.คุรุสภาให้การรับรอง (ใบประกอบวิชาชีพครู)
ระยะเวลาในการศึกษา
ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ภาคการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษา
เรียนเสาร์-อาทิตย์ (เวลา 09.00 – 17.30 น.)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายและค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (เหมาจ่าย) 55,000 บาท
แบ่งชำระ 2 งวด
- งวดที่ 1 35,000 บาท
- งวดที่ 2 20,000 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. มีสัญชาติไทย
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้การรับรอง
3. ครูประจำการที่มีสัญญาจ้างที่ระบุตำแหน่งครูผู้สอนหรือผู้ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสอนแต่ต้องปฏิบัติงานในสถานศึกษาต้องมีหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียน / วิทยาลัย อนุญาตให้เข้าฝึกระหว่างเรียนและปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่เป็นไปตามาตรฐานของคุรุสภา และโรงเรียนผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินการศึกษา (สมศ.)
4. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
5. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
6. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
7. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดนคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ
11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกเพราะการกระทำผิดตามวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ หรือตามกฎหมายอื่น
อาจารย์ประจำหลักสูตร
– รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– รองศาสตราจารย์ ดร.สุบิน ยุระรัช มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– รองศาสตราจารย์ ดร.ละเอียด จงกลนี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ ไทยมา มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินธร สินจินดาวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี จรุงศิรวัฒน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.สุพรรณี สมานญาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
– อาจารย์ ดร.สมหวัง พันธะลี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.กฤตพัฒน์ พลคราม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.เกษร ทองแสน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ศรีสง่าชัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.วิรัช เจริญเชื้อ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.เสน่ห์ คำสมหมาย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.นวรัตน์ แซ่โค้ว มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
– อาจารย์ ดร.สุภัทร พันธ์พัฒนกุล มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร
– รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ชูกำแพง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรือนการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี วงศ์สะพาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราพร เอราวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพร ชะโน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานิต อาษานอก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– อาจารย์ ดร.ปาล ศรีจันดารี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลซำสูง จ.ขอนแก่น
โครงสร้างหลักสูตร
- 1. จำนวนหน่วยกิต
ตลอดหลักสูตร 34 หน่วยกิต
- 2. โครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชามาตรฐานความรู้ 27 หน่วยกิต
2. หมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
- รายวิชาที่เปิดสอน
หมวดวิชามาตรฐานความรู้ (27 หน่วยกิต) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
GTP510 |
ครูกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Teachers and 21st Century Changes) |
3(2-2-5) |
GTP511 |
จิตวิทยาสำหรับครู (Psychology for Teachers) |
3(2-2-5) |
GTP512 |
การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) |
3(2-2-5) |
GTP513 |
ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู (Language Communication for Teachers) |
3(2-2-5) |
GTP514 |
การจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน (Learning and Classroom Management) |
3(2-2-5) |
GTP515 |
ศาสตร์การสอน (Teaching science) |
3(2-2-5) |
GTP516 |
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Measurement and Evaluation) |
3(2-2-5) |
GTP517 |
การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา (Educational Administration and Educational Quality Assurance) |
3(2-2-5) |
GTP518 |
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (Research and Innovational Learning Development) |
3(2-2-5) |
.
หมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ (7 หน่วยกิต) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
GTP520 |
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน (Faculty Teaching Practicum) |
1(0-2-1) |
GTP521 |
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (Teaching Internship 1) |
3 (240) |
GTP522 |
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 (Teaching Internship 2) |
3 (240) |
.
แผนการศึกษา
ชื่อวิชา |
หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 หมวดวิชามาตรฐานความรู้ GTP510 ครูกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 GTP511 จิตวิทยาสำหรับครู GTP512 การพัฒนาหลักสูตร GTP513 ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูหมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ GTP520 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน |
3(2-2-5) 1(0-2-1) |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 หมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ |
3(2-2-5) 3(240) |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 หมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ |
3(2-2-5) 3(240) |
หมวดวิชามาตรฐานความรู้ |
27 |
หมวดวิชามาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ |
7 |
รวม |
34 |
.
คำอธิบายรายวิชา
GTP510 ครูกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21(Teachers and 21st Century Changes) 3(2-2-5)
วิเคราะห์ความรอบรู้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งภายใน และ ภายนอกประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาที่เกี่ยวกับแนวคิดทักษะแห่งอนาคต การเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลกและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการ เรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในพัฒนาการจัดเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
GTP511 จิตวิทยาสำหรับครู (Psychology for Teachers) 3(2-2-5)
จิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การใช้หลักการทางจิตวิทยาวิเคราะห์ผู้เรียนและบริบทของผู้เรียนเพื่อวางแผนและนำไปบูรณาการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตดีภายใต้บริบทและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การปฏิบัติการทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
GTP512 การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) 3(2-2-5)
หลักการ แนวคิด และทฤษฎีหลักสูตร หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษาของไทย หลักการ แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ปฏิบัติการประเมินหลักสูตร และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
GTP513 ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู (Language Communication for Teachers) 3(2-2-5)
ใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องในการเรียนการสอน หรือที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร เพื่อบูรณาการภาษากับวัฒนธรรมในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
GTP514 การจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน (Learning and Classroom Management) 3(2-2-5)
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสาร ประจำชั้นเรียนหรือ ประจำวิชา การสร้างบรรยากาศ การจัดชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ทดลองการจัดการเรียนรู้ สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอาชีพครู
GTP515 ศาสตร์การสอน (Teaching science) 3(2-2-5)
วิเคราะห์และวิพากษ์ หลักการแนวคิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์การสอน การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการบูรณาการการบริหารจัดการชั้นเรียนที่สะท้อนผลการจัดการสอน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอาชีพครู
GTP516 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Measurement and Evaluation) 3(2-2-5)
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดผลการศึกษา การประเมินตามสภาพจริง การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน คุณธรรม จริยธรรมของผู้ประเมิน การฝึกปฏิบัติการวัดและการประเมินผล และการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
GTP517 การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Assurance) 3(2-2-5)
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกสถานศึกษา รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา การนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการจัดการคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับบุคลากรการศึกษาและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน การฝึกปฏิบัติการดำเนินการจัดกิจกรรมประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
GTP518 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (Research and Innovational Learning Development) 3(2-2-5)
ค้นคว้า วิเคราะห์หลักการแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน นำผลการประเมิน ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้ เลือกใช้ผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนได้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนการนำเสนอผลงานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
GTP520 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน (Faculty Teaching Practicum) 1(0-2-1)
เข้าใจบริบทชุมชนรอบรู้การบริหารจัดการสถานศึกษา บทบาทหน้าที่ของครูผู้สอน ครูประจำชั้น ศึกษาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือโดยการออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้ การเตรียมสื่อการสอน การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีส่วนร่วมกับครูผู้สอนในการวิจัยแก้ปัญหาผู้เรียน การพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพผ่านกระบวนการสังเกตวิเคราะห์ สังเคราะห์ จากประสบการณ์ในสถานศึกษา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
GTP521 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 (Teaching Internship 1) 3(240)
ปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเอกในสถานศึกษา มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนด้วยวิญญาณความเป็นครู ส่งเสริมการเรียน เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และผู้สร้างนวัตกรรม โดยการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ เพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และทักษะการคิดของผู้เรียน ให้มีปัญญารู้คิด มีความเป็นนวัตกร บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ออกแบบสื่อ/นวัตกรรม วัดและประเมินผล จัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ รายงานผลการพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานในหน้าที่ครูร่วมกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์และเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ จัดการและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ร่วมกับครูพี่เลี้ยง ผ่านกระบวนการสังเกต บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียน และสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดีมีความรอบรู้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ
GTP522 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 (Teaching Internship 2) 3(240)
ปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเอกในสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรสถานศึกษาโดยการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ และทักษะการคิดของผู้เรียน ดูแล ช่วยเหลือ พัฒนา และรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ศึกษาเข้าถึงบริบทของชุมชนและสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน วิจัย สร้างนวัตกรรมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านกระบวนการสังเกต บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียน และสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูที่มืออาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ในการสัมมนาการศึกษาเพื่อให้มีความรอบรู้ทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ และการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา
.
หลักฐานประกอบการรับสมัคร
1. ประเภทผู้ปฏิบัติการสอน (ครูประจำการ)
1) รูปถ่ายสวมชุดสุภาพ (ไม่สวมเสื้อยืด ชุดครุย ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
2) สำเนาปริญญาบัตร หรือคุณวุฒิที่ใช้สมัคร กรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีใบรับรองวุฒิการศึกษาจาก สกอ. สป.อว.
3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4) สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้ามี)
5) สำเนาทะเบียนบ้าน
6) หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่ยังไม่หมดอายุ
7) หลักฐานการชำระค่าสมัคร จำนวน 400 บาท
2. ประเภทผู้ไม่ได้ปฏิบัติการสอนแต่ต้องเป็นบุคลากรทางการศึกษา
1) รูปถ่ายสวมชุดสุภาพ (ไม่สวมเสื้อยืด ชุดครุย ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
2) สำเนาปริญญาบัตร หรือคุณวุฒิที่ใช้สมัคร กรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องมีใบรับรองวุฒิการศึกษาจาก สกอ. สป.อว.
3) สำเนาเอกสารหลักฐานที่แสดงการได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน หรือหน่วยงานทางการศึกษา หรือสำเนาสัญญาจ้าง
4) หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้อำนวยการวิทยาลัย อนุญาต ให้เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนและปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์: https://drive.google.com/drive/folders/12MxA2-n202U1pYfXBIAGwuFmE2Sfk62n?usp=sharing
5) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
6) สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้ามี)
7) สำเนาทะเบียนบ้าน
8) หลักฐานการชำระค่าสมัคร จำนวน 400 บาท
ทั้งนี้หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน หรือ ปลอมแปลงเอกสารหลักฐานราชการในการยื่นใบสมัคร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น จะเพิกถอนสิทธิการสมัคร และผลสอบทั้งหมดโดยที่ผู้สมัคร ไม่สามารถเรียกร้องขอค่าสมัครคืนได้
สอบข้อเขียน รายวิชาตามมาตรฐานความรู้คุรุสภา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
1. การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียน
3. เนื้อหารายวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
4. การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
5. การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
6. การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
วิธีสมัครเรียน
1.สมัครออนไลน์ http://www.khonkaen.spu.ac.th/spu/register/
2. สมัครด้วยตนเอง โดยเดินทางเข้ามาติดต่อที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
ศูนย์รับสมัครนักศึกษา
1.มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 หรือ โทร.082-3010801 , 043-224111
2. LINE@ : @gradspukk https://line.me/R/ti/p/@gradspukk
3. Facebook : โท-เอก มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น facebook.com/gradspukk/